สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมมือกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์ จัดค่ายเรียนรู้ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ระหว่างวันที่ 8-9 มิถุนายน 2567 ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วยฐานการเรียนรู้ สร้างสรรค์การทำแผนที่ ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม การสำรวจทรัพยากรด้วยอากาศยานไร้คนขับ เครื่องมือและเทคโนโลยีการสำรวจ วิทยากรบรรยายโดยคณาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ
ฐานที่ 1 สร้างสรรค์การทำแผนที่ บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกลักษณ์ สลักคำ และอาจารย์ชนัดดา รัตนา การรวบรวมข้อมูลภูมิศาสตร์เพื่อสร้างแผนที่ การเลือกใช้สัญลักษณ์ จุด (Point symbol) เส้น(Line symbol) และพื้นที่ (Area symbol)ให้เหมาะสมกับข้อมูล รวมถึงการออกแบบแผนที่ (Map layout) การวางองค์ประกอบแผนที่ให้เหมาะสมกับชนิดของแผนที่
ฐานที่ 2 การระบุตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วริษฐ์ กิตติ์ธนารุจน์ และ อาจารย์ชลาวัล วรรณทอง การใช้เครื่องมือในการระบุตำแหน่งบนพื้นโลก โดยอาศัยข้อมูลของตำแหน่งและเวลาของดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก
ฐานที่ 3 การสำรวจทรัพยากรด้วยอากาศยานไร้คนขับ บรรยายโดย อาจารย์ณัฐพล วงษ์รัมย์ การใช้อากาศยานไร้คนขับในการถ่ายภาพทางอากาศ ประกอบด้วย กฎหมายและข้อบังคับ ประเภท องค์ประกอบ การเตรียมพร้อมก่อนบิน การวางแผนการบิน ตลอดจนการฝึกปฏิบัติการใช้อากาศยานไร้คนขับ
ฐานที่ 4 เครื่องมือและเทคโนโลยีการสำรวจ บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐวุฒิ ทะนันไธสง ประกอยด้วย รูปลักษณ์ องค์ประกอบ มาตราส่วน การกำหนดตำแหน่งด้วยระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate System)ระบบพิกัดกริด UTM (Universal Transvers Mercator Coordinate System) รวมถึงการใช้เครื่องมือในการวัดและหาพื้นที่จริงบนภูมิประเทศ
สำหรับการจัดค่ายการรู้ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณคณาจารย์ นักศึกษา ผู้บริหารและกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่เป็นกำลังสำคัญทำให้กิจกรรมสำเร็จ บรรลุตามวัตถุประสงค์